รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
1.ประเด็นที่น่าสนใจ
ตอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีประเด็นสำคัญเรื่องความร่วมมือกันของประชาชนชาวไทย ในการธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและความมั่นคงของชาติ การทำนุบำรุงรักษาศาสนาทุกศาสนาให้สถิตสถาพร การเทิดทูลพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและเป็นมิ่งขวัญของชาติ การยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวิถีทางในการปกครองประเทศ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม การกำหนดกลไกสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม
2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
ตอบ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ที่ตรงกับรัฐธรรมนูญคือ ประเด็นในหมวดที่ 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ซึ่งประกอบด้วย ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
ตอบ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้ มีดังนี้
1. สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา เช่น บุคคลย่อมมีสิทธิในการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปีตามที่รัฐจัดให้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
2. สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิ์การจากรัฐ เช่น บุคคลที่มีอายุเกินกี่ปีที่ไม่มีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพ ที่มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ
3. รัฐสภา เช่น รัฐสภาประกอบด้วยอะไรบ้าง
4. สภาผู้แทนราษฎร เช่น สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่คน ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติอย่างไร บุคคลใดบ้างที่ห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคือ ฯลฯ
5. วุฒิสภา เช่น วุฒิสภาประกอบด้วยวมาชิกทั้งหมดกี่คน คุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาคือ
4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ตอบ เราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพราะกฎหมายเปรียบเสมือนคำแนะนำในการตัดสินใจของเรา ถ้าเรามีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายมันก็จะมีประโยชน์กับตัวเราและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรา เพื่อเราจะได้ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบได้ และก็จะทำให้เราได้รู้ว่าสิ่งที่เราทำอยู่นั้นมันผิดกฎหมายหรือไม่ ดังนั้นการที่เรารู้กฎหมายพื้นฐานเราก็สามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นๆในสังคมได้อย่างมีความสุข
5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
ตอบ การทีรัฐบาลมีความต้องการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นก็เพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายข้อบังคับที่สามารถจะทำให้บุคคลคนหนึ่งที่ถูกเนรเทศออกจากประเทศไทย ให้บุคคลคนนั้นสามารถกลับเข้ามายังประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเพื่อเป็นการช่วยให้บุคคลคนนั้นพ้นจากความผิดที่ตนได้กระทำเอาไว้กับชาติ บ้านเมือง
ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่แปลกที่จะมีประชาชนบางกลุ่มออกมาคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ เพราะประชาชนกลุ่มนี้ได้เล็งเห็นถึงผลประโยชน์จากการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประชาชนกลุ่มนี้คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อไม่ต้องการให้คนที่ทำผิด โกงบ้านโกงเมืองกลับเข้ามายังประเทศ เพราะประชาชนกลุ่มนี้มีความรักต่อชาติ บ้านเมือง และพระมหากษัตริย์
6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร สภานิติบัญญัติมีภาวะที่จะต้องดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่นคงที่จะความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ ขอให้นัศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
ตอบ ในปัจจุบันอำนาจทั้ง 3 อำนาจกำลังประสบกับปัญหาเรื่อง การทุจริตเงินของรัฐ การบริหารบ้านเมืองอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะแก้ไขได้ยาก หากผู้ที่ดำรงตำแหน่งไม่มีความสุจริต เห็นแก่ผลประโยชน์ของตนเอง เอารัดเอาเปรียบประชาชน ก็จะทำให้บ้านเมืองล้มจม ดังนั้นผู้ที่ดำรงตำแหน่งควรที่จะบริหารประเทศอย่างสุจริต ไม่โกงบ้านโกงเมือง ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ก็จะทำให้การบริหารบ้านเมืองมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประเทศชาติจะเจริญรุ่งเรืองขั้น
วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
กิจกรรมที่ 1
คำนิยามที่เกี่ยวกับกฏหมาย
1. "กรรมสิทธิ์" คือ สิทธิในทรัพย์และสิทธิในสิงที่มีรูปร่าง
2. "การไต่สวนมูลฟ้อง" คือ กระบวนไต่สวนของศาลเพื่อวินิจฉัยถึงมูลคดีซึ่งจำเลยต้องหา
3. "ของโจร" คือ ของที่ได้มาโดยผิดกฎหมาย
4. "คดีแพ่ง" คือ คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่งเช่นการฟ้องร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายหรือให้ชำระค่างวดเช่าซื้อ,สัญญาเงินกู้ หรือเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิตามกำหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของตน
5. "คดีอาญา" คือ คดีที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพ ชีวิตและร่างกาย ทรัพย์สิน
6. "คู่ความ" คือ บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล และเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณา ให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้นๆตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ
7. "คำให้การ" คือ กระบวนพิจารณาใด ๆ ซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งยกข้อต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ นอกจากคำแถลงการณ์
8. "คำฟ้อง" คือ กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาลไม่ว่าจะได้เสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะได้เสนอต่อศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้อง?หรือคำร้องขอหรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข หรือฟ้องแย้งหรือโดยสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าด้วยสมัครใจ หรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่
9. "คำพิพากษา" คือ คำตัดสินของศาลโดยผู้พิพากษา
10. "นิติกรรม" คือ การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
11. "โจทก์" คือ พนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาลหรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์?ร่วมกัน
12. "จำเลย" คือ บุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด
ที่มา : รับฟังความคิดเห็นด้านกฏหมายไทยLawamendment ร่างกฎหมายใหม่ กฏหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบัน[นิยามศัพท์กฏหมาย].เข้าถึงได้จาก www.lawamendment.go.th/word_last1.asp : เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555
1. "กรรมสิทธิ์" คือ สิทธิในทรัพย์และสิทธิในสิงที่มีรูปร่าง
2. "การไต่สวนมูลฟ้อง" คือ กระบวนไต่สวนของศาลเพื่อวินิจฉัยถึงมูลคดีซึ่งจำเลยต้องหา
3. "ของโจร" คือ ของที่ได้มาโดยผิดกฎหมาย
4. "คดีแพ่ง" คือ คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่งเช่นการฟ้องร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายหรือให้ชำระค่างวดเช่าซื้อ,สัญญาเงินกู้ หรือเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิตามกำหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของตน
5. "คดีอาญา" คือ คดีที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพ ชีวิตและร่างกาย ทรัพย์สิน
6. "คู่ความ" คือ บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล และเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณา ให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้นๆตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ
7. "คำให้การ" คือ กระบวนพิจารณาใด ๆ ซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งยกข้อต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ นอกจากคำแถลงการณ์
8. "คำฟ้อง" คือ กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาลไม่ว่าจะได้เสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะได้เสนอต่อศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้อง?หรือคำร้องขอหรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข หรือฟ้องแย้งหรือโดยสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าด้วยสมัครใจ หรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่
9. "คำพิพากษา" คือ คำตัดสินของศาลโดยผู้พิพากษา
10. "นิติกรรม" คือ การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
11. "โจทก์" คือ พนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาลหรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์?ร่วมกัน
12. "จำเลย" คือ บุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด
ที่มา : รับฟังความคิดเห็นด้านกฏหมายไทยLawamendment ร่างกฎหมายใหม่ กฏหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบัน[นิยามศัพท์กฏหมาย].เข้าถึงได้จาก www.lawamendment.go.th/word_last1.asp : เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555
แนะนำตนเอง
นางสาวสไบนาง หมินหมัน
รหัส 5311103085
คณะครุศาสตร์ หลักสูตรคณิตศาสตร์
ข้อมูลการติดต่อ
- บ้านเลขที่ 118/2 หมู่ 7 ตำบลอินคีรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช 80320
- เบอร์โทรศัพท์ : 082-4240544 , 090-4091364
- e-mail : sa.bainang@hotmail.com , sabainang.yamasa@gmail.com
- blogger : sabainang3112.blogspot.com
ข้อมูลการศึกษา
- ระดับชั้นประถมศึกษา : โรงเรียนไตรภูมิวิทยา
- ระดับชั้นมัธยมศึกษา : โรงเรียนบ้านเกาะวิทยา
- ปัจจุบัน : กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นปีที่ 3 หลักสูตรคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ปรัชญาชีวิต
ทำวันนี้ให้ดีที่สุด อย่าหยุดถ้ายังไม่หยุดหายใจ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)