ติดต่อได้ที่ 082-4240544

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3



1. ท่านคิดอย่างไร ถ้ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอะไร จงอธิบายให้เหตุผล
    ตอบ    ถ้ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่บท แล้วพระราชบัญญัติน่าจะเป็นกฎหมายรองจากรัฐธรรมนูญ   เพราะพระราชบัญญัตินั้นถูกร่างและกำหนดใช้โดยอำนาจของรัฐธรรมนูญ

2. ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
    ตอบ    ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษามีดังนี้
1.    การจัดศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา  ความรู้  และคุณธรรม  มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต  สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (มาตรา ๖)
2.    ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ  หน้าที่  เสรีภาพ  ความเคารพกฎหมาย  ความเสมอภาค  และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย  รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ  รวมทั้งส่งเสริมศาสนา  ศิลปะ  วัฒนธรรมของชาติ  การกีฬา  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทย  และความรู้อันเป็นสากล  ตลอกจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มีความสามารถในการประกอบอาชีพ  รู้จักพึ่งตนเอง  มีความริเริ่มสร้างสรรค์  ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง (มาตรา ๗)

3. หลักในการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
    ตอบ    การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
1.    เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน หมายความว่า  การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
2.    ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  หมายความว่า  การเปิดโอกาสให้องค์กรชุมชน  องค์กรต่างๆ ในสังคมได้มามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  ตลอดจนกำหนดแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีของการสื่อสารเพื่อการศึกษา  เพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น
3.    การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง  หมายความว่า   การพัฒนาคุณภาพการศึกษานั้นจะต้องมีการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  เพื่อไม่ให้ประเทศไทยล้าหลังประเทศอื่น

4. หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
    ตอบ    การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้
1.    มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
2.    มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3.   มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
4.   มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
5.  ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
6.  การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น

5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
    ตอบ    มาตรา ๑๐ การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษา
ขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
  การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์  สังคม
การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
  การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่น
ใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
  การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสม
โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น

  มาตรา ๑๑  บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
ได้รับการศึกษาภาคบังคับตามมาตรา ๑๗ และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องตลอดจนให้ได้รับการศึกษา
นอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับ ตามความพร้อมของครอบครัว

มาตรา ๑๒ นอกเหนือจากรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้บุคคลครอบครัว
 องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
มีสิทธิในการจัดศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๑๓ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้
() การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและการให้การศึกษา
แก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
() เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
ที่ครอบครัวจัดให้ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายกำหนด
() การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด

มาตรา ๑๔ บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา
สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ซึ่งสนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามควรแก่กรณีดังต่อไปนี้
() การสนับสนุนจากรัฐให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูบุคคลซึ่งอยู่ใน
ความดูแลรับผิดชอบ
() เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด
() การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด

6. ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มีกี่ระบบอะไรบ้าง จงอธิบาย
    ตอบ    การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ  และการศึกษาตามอัธยาศัย  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
() การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและประเมินผล   ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
() การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย  รูปแบบ
วิธีการจัดการศึกษา   ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการ
สำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความ
ต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
() การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ
ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่ง
ความรู้อื่น ๆ

7. ท่านสามารถนำแนวการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
    ตอบ    1.  การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตาม
ธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
                 2.  การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
 ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความ
เหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
- ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ครอบครัว  ชุมชน
ชาติและสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและ
ประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อย่างสมดุลยั่งยืน
- ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
- ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
- ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
                3.  จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึง
ความแตกต่างระหว่างบุคคล
                4.  ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้
เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
                5.  จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง  ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น
ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
                6.  จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน
รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา           
                7.  จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้  รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของระบวนการเรียนรู้  ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนกาสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
                8.  จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่  มีการประสานความร่วมมือกับบิดา  มารดา  ผู้ปกครอง  และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย  เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

8. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นใดบ้างและเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขคืออะไร
    ตอบ   พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นสำคัญดังนี้
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. ๒๕๔๒  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) .. ๒๕๔๕  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๓๗ การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำนวนสถานศึกษา  จำนวนประชากร  วัฒนธรรม  และความเหมาะสมด้านอื่นด้วย  เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา
ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา  กำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
ในกรณีที่สถานศึกษาใดจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
การกำหนดให้สถานศึกษาแห่งนั้นอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาใด ให้ยึดระดับการศึกษาของสถานศึกษานั้นเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจบริหารและจัดการได้ตามวรรคหนึ่ง กระทรวงอาจจัดให้มี
การศึกษาขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้เพื่อเสริมการบริหารและการจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาก็ได้
() การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพ
() การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษา
ตามอัธยาศัย
() การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ
() การจัดการศึกษาทางไกล และการจัดการศึกษาที่ให้บริการในหลายเขตพื้นที่การศึกษา
มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคห้าของมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) .. ๒๕๔๕
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสถานศึกษาเอกชนและองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นว่าจะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษาใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศ
กำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา  ซึ่งมีระบบการบริหารและการจัดการศึกษาของทั้งสองระดับรวมอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา  ทำให้การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเกิดความไม่คล่องตัวและเกิดปัญหาการพัฒนาการศึกษา  สมควรแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็น
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษา
มีประสิทธิภาพ  อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาแก่นักเรียนในช่วงชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ให้สัมฤทธิผลและมีคุณภาพยิ่งขึ้น  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

9. การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
    ตอบ    เห็นด้วย  เพราะ  การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคลนั้นมีจดมุ่งหมายสำคัญที่จำทำให้สถานศึกษามีอิสระ  มีความเข้มแข็งในการบริหาร  เพื่อให้การบริหารเป็นไปอย่างคล่องตัว  รวดเร็วและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน  สถานศึกษา  ชุมชน  และประเทศชาติโดยรวม 

10. การที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
   ตอบ    เห็นด้วย  เพราะ  องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นมีทรัพยากรที่เพียงพอที่จะสนับสนุนการศึกษาในท้องถิ่น  ประกอบกับองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นมีพื้นที่ขนาดเล็กและมีโรงเรียนที่อยู่ในความดูแลไม่มาก  จึงสามารถสนับสนุนการศึกษาได้อย่างเต็มที่ 

11. หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
      ตอบ    หลักเกณฑ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ระบุในกฎกระทรวงให้พิจารณาประเด็นต่อไปนี้
1.    ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะวิชา/สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาจะคำนึงถึงองค์ประกอบคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ใช้เป็นแนวทางในการควบคุมการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษาทั้ง 9 ด้าน คือ (1)ปรัชญา  ปณิธาน  วัตถุประสงค์และแผนดำเนินการ (2)การเรียนการสอน (3)กิจกรรมพัฒนานิสิตนักศึกษา (4)การวิจัย (5)การบริการทางวิชาการแก่สังคม (6)การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (7)การบริหารและการจัดการ
2.    (8)การเงินและงบประมาณ และ (9)ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา  ทั้งนี้  ให้คณะวิชาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา  จัดทำรายงานการศึกษาตนเองที่ครอบคลุมการดำเนินงานตามองค์ประกอบคุณภาพการศึกษาที่คณะวิชาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษากำหนดเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายในและภายนอก
3.    ผลการปฏิบัติงานของคณะวิชาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาตามกลไกการประกันคุณภาพที่กำหนดไว้
4.    ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงานตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาตามตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษา

วิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่ระบุในกฎกระทรวงให้ใช้แนวปฏิบัติดังนี้
1.    ให้คณะวิชา/สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาจัดให้มีหน่วยงานหรือคณะกรรมการที่รับผิดชอบด้านการดำเนินการด้านการประกันคุณภาพขึ้น  โดยมีหน้าที่พัฒนาบริหารและติดตามการดำเนินการด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา  ตลอดจนประสานกับหน่วยงานภายนอก  เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการจัดการศึกษาระดับต่างๆ จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2.    ให้คณะวิชา/สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา  เพื่อใช้กำกับ  ตรวจสอบ  และประเมินคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพภายใต้กรอบนโยบายและหลักการที่สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
3.   ให้คณะวิชา/สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาจัดให้มีระบบและกลไกควบคุมคุณภาพขององค์ประกอบต่างๆที่ใช้ในการผลิตบัณฑิต ดังนี้ (1)หลักสูตรการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ (2)คณาจารย์และระบบการพัฒนาคณาจารย์ (3)สื่อการศึกษาและเทคนิคการสอน (4)ห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้อื่น (5)อุปกรณ์การศึกษาต่างๆ (6)สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้และบริการการศึกษา (7)การวัดผลการศึกษาและสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักศึกษา (8)องค์ประกอบตามที่แต่ละสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาเห็นสมควร  ทั้งนี้  แต่ละคณะวิชาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาอาจจัดให้มีระบบการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการขึ้นเป็นภายในได้ตามที่จะเห็นสมควร  โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาระดับอุดมศึกษาส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาด้านการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับคณะวิชาของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง

12. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
    ตอบ    เห็นด้วย  เพราะใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะเป็นหลักประกันความมีมาตรฐานและคุณภาพของการประกอบวิชาชีพ  และเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงขึ้น  นอกจากนี้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะได้รับเงินเดือน  เงินวิทยาฐานะตาม พรบ.เงินเดือน  เงินวิทยฐานะ  และเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ด้วย

13. ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง
     ตอบ    นำเอาทุนและทรัพยากรในท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสม  โดยการดัดแปลงหรือปรับปรุงการเรียนการสอนโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น 

14. ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
    ตอบ    1. ศึกษา  สำรวจ  วิเคราะห์สภาพปัญหา  การจัดหา  การเลือก  การใช้  และการประเมินคุณภาพสื่อ  เพื่อใช้จัดการเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สำหรับเด็กปกติและเด็กพิการเรียนร่วม
                 2. จัดหาสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างหลากหลาย 
                 3. เลือกใช้สื่อและเทคโลโลยีที่ผ่านการประเมินคุณภาพทางวิชาการ  จากคณะกรรมการของสถานศึกษา  คณะกรรมการของ สพท.  และหรือกระทรวงศึกษาธิการแล้ว  โดยดำเนินการคัดเลือกในรูปของคณะกรรมการและประเมินการใช้สื่ออย่างสม่ำเสมอ
                 4. พัฒนาสื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การสอน
                 5. พัฒนาสื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
                  


วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

1.ประเด็นที่น่าสนใจ
   ตอบ     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  มีประเด็นสำคัญเรื่องความร่วมมือกันของประชาชนชาวไทย  ในการธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและความมั่นคงของชาติ  การทำนุบำรุงรักษาศาสนาทุกศาสนาให้สถิตสถาพร  การเทิดทูลพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและเป็นมิ่งขวัญของชาติ   การยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวิถีทางในการปกครองประเทศ  การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน  ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม   การกำหนดกลไกสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร  ให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา   รวมทั้งให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม

2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
   ตอบ    สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ที่ตรงกับรัฐธรรมนูญคือ  ประเด็นในหมวดที่ 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย  ซึ่งประกอบด้วย  ส่วนที่ 8  สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง  ยกตัวอย่าง
   ตอบ    ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้ มีดังนี้
               1. สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา  เช่น  บุคคลย่อมมีสิทธิในการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปีตามที่รัฐจัดให้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
               2. สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิ์การจากรัฐ  เช่น  บุคคลที่มีอายุเกินกี่ปีที่ไม่มีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพ  ที่มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ
               3. รัฐสภา  เช่น รัฐสภาประกอบด้วยอะไรบ้าง
               4. สภาผู้แทนราษฎร   เช่น  สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่คน  ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติอย่างไร  บุคคลใดบ้างที่ห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง  คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคือ ฯลฯ
               5. วุฒิสภา  เช่น  วุฒิสภาประกอบด้วยวมาชิกทั้งหมดกี่คน   คุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาคือ

4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
   ตอบ    เราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  เพราะกฎหมายเปรียบเสมือนคำแนะนำในการตัดสินใจของเรา   ถ้าเรามีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายมันก็จะมีประโยชน์กับตัวเราและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรา  เพื่อเราจะได้ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบได้  และก็จะทำให้เราได้รู้ว่าสิ่งที่เราทำอยู่นั้นมันผิดกฎหมายหรือไม่  ดังนั้นการที่เรารู้กฎหมายพื้นฐานเราก็สามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นๆในสังคมได้อย่างมีความสุข

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ  เพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มคัดค้าน  ขอให้นักศึกษาบอกเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
   ตอบ    การทีรัฐบาลมีความต้องการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นก็เพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายข้อบังคับที่สามารถจะทำให้บุคคลคนหนึ่งที่ถูกเนรเทศออกจากประเทศไทย   ให้บุคคลคนนั้นสามารถกลับเข้ามายังประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย  และเพื่อเป็นการช่วยให้บุคคลคนนั้นพ้นจากความผิดที่ตนได้กระทำเอาไว้กับชาติ บ้านเมือง
              ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่แปลกที่จะมีประชาชนบางกลุ่มออกมาคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ  เพราะประชาชนกลุ่มนี้ได้เล็งเห็นถึงผลประโยชน์จากการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ   ประชาชนกลุ่มนี้คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อไม่ต้องการให้คนที่ทำผิด โกงบ้านโกงเมืองกลับเข้ามายังประเทศ  เพราะประชาชนกลุ่มนี้มีความรักต่อชาติ  บ้านเมือง และพระมหากษัตริย์

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3  อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน  และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา   สภาผู้แทนราษฎร  สภานิติบัญญัติมีภาวะที่จะต้องดำรงอยู่อย่างไร   มีความมั่นคงที่จะความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่  ขอให้นัศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
   ตอบ   ในปัจจุบันอำนาจทั้ง 3 อำนาจกำลังประสบกับปัญหาเรื่อง  การทุจริตเงินของรัฐ   การบริหารบ้านเมืองอย่างไม่มีประสิทธิภาพ   ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะแก้ไขได้ยาก   หากผู้ที่ดำรงตำแหน่งไม่มีความสุจริต  เห็นแก่ผลประโยชน์ของตนเอง  เอารัดเอาเปรียบประชาชน  ก็จะทำให้บ้านเมืองล้มจม   ดังนั้นผู้ที่ดำรงตำแหน่งควรที่จะบริหารประเทศอย่างสุจริต  ไม่โกงบ้านโกงเมือง  ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน  เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม  ก็จะทำให้การบริหารบ้านเมืองมีประสิทธิภาพมากขึ้น   ประเทศชาติจะเจริญรุ่งเรืองขั้น

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1

คำนิยามที่เกี่ยวกับกฏหมาย
   1. "กรรมสิทธิ์"  คือ สิทธิในทรัพย์และสิทธิในสิงที่มีรูปร่าง
   2. "การไต่สวนมูลฟ้อง"  คือ  กระบวนไต่สวนของศาลเพื่อวินิจฉัยถึงมูลคดีซึ่งจำเลยต้องหา
   3. "ของโจร"  คือ ของที่ได้มาโดยผิดกฎหมาย
   4. "คดีแพ่ง" คือ คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่งเช่นการฟ้องร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายหรือให้ชำระค่างวดเช่าซื้อ,สัญญาเงินกู้ หรือเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิตามกำหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของตน
   5. "คดีอาญา"  คือ  คดีที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพ ชีวิตและร่างกาย ทรัพย์สิน
   6. "คู่ความ"  คือ  บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล และเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณา ให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้นๆตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ
   7. "คำให้การ"  คือ กระบวนพิจารณาใด ๆ ซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งยกข้อต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ นอกจากคำแถลงการณ์
   8. "คำฟ้อง"  คือ  กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาลไม่ว่าจะได้เสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะได้เสนอต่อศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้อง?หรือคำร้องขอหรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข หรือฟ้องแย้งหรือโดยสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าด้วยสมัครใจ หรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่
   9. "คำพิพากษา"  คือ  คำตัดสินของศาลโดยผู้พิพากษา
   10. "นิติกรรม"  คือ การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
   11. "โจทก์"  คือ  พนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาลหรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์?ร่วมกัน
   12. "จำเลย"  คือ บุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด

ที่มา : รับฟังความคิดเห็นด้านกฏหมายไทยLawamendment ร่างกฎหมายใหม่ กฏหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบัน[นิยามศัพท์กฏหมาย].เข้าถึงได้จาก  www.lawamendment.go.th/word_last1.asp : เข้าถึงเมื่อวันที่ 5  พฤศจิกายน 2555











แนะนำตนเอง


นางสาวสไบนาง        หมินหมัน
รหัส  5311103085
คณะครุศาสตร์   หลักสูตรคณิตศาสตร์

ข้อมูลการติดต่อ
  • บ้านเลขที่ 118/2  หมู่ 7  ตำบลอินคีรี   อำเภอพรหมคีรี  จังหวัดนครศรีธรรมราช  80320
  • เบอร์โทรศัพท์  :  082-4240544 ,  090-4091364
  • e-mail :  sa.bainang@hotmail.com  ,  sabainang.yamasa@gmail.com
  • blogger : sabainang3112.blogspot.com
ข้อมูลการศึกษา
  • ระดับชั้นประถมศึกษา  :  โรงเรียนไตรภูมิวิทยา
  • ระดับชั้นมัธยมศึกษา  :  โรงเรียนบ้านเกาะวิทยา
  • ปัจจุบัน  :  กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นปีที่ 3   หลักสูตรคณิตศาสตร์  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ปรัชญาชีวิต
        
           ทำวันนี้ให้ดีที่สุด  อย่าหยุดถ้ายังไม่หยุดหายใจ